กล่องข้อความ:

บริเวณที่พบ : หอประชุมวัฒโนทัย
ชื่ออื่นๆ : ตระบก หมากบก มะมื่น หมักลื่น
ลักษณะพิเศษของพืช : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทั่วไป
ต้น :
กระบกเป็น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูง10 – 30 เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เมื่อมีอายุมากโคนมักเป็นพูพอน
เรือน ยอดเป็นพุ่มแน่น ทึบ กลม หรือกลมรี กิ่งอ่อนจะมีรอยแผลใบขวั้นรอบตรงข้อ
เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ
บางทีแตกเป็นสะเก็ด
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ติดเรียงสลับ ทรงใบรีแกมรูปขอบขนานจนถึงใบรูปหอก กว้าง 2 – 9 ซม. ยาว 8 – 20 ซม. เนื้อใบหนาเกลี้ยง
ทั้งสองด้านโคนใบมนแล้ว สอบเรียว ไปทางปลาย ปลายใบแหลมทู่ขอบใบเรียบ เส้นแขนง ใบมี 8 – 14 คู่และมักมีเส้นแขนง
ใบปลอมแซมระหว่าง กลาง เส้นใบย่อยแบบขั้นบันได จะเห็นชัดทางด้านท้องใบ ใบแห้งจะเห็นเส้นร่างแหชัดทั้งสองด้าน
หูใบจะม้วนหุ้ม ยอด เรียวโค้งเป็นรูปฝักดาบ ยาว 3 ซม.
ดอก : เป็นดอกช่อแบบ panicle มีขนาดเล็ก สีขาวปนเขียวอ่อน มีขนนุ่ม ๆ ประปราย ออกรวมกันเป็นช่อโตๆตามปลายกิ่ง
กลีบฐานดอกและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกจะยาวประมาณ 3 เท่าของกลีบฐานดอกและปลายกลีบ
จะหักกลับมาสู่ก้านดอก เกสรผู้มี 10 อัน
ผล :มีขนาดใหญ่และแข็งเหมือนไม้ ภายในเมล็ดมีเนื้อสีขาว รสมัน รูปทรงกลม หรือรูปไข่ แบนเล็กน้อย คล้ายมะม่วงขนาดเล็ก
ผลอ่อนสีเหลือง มีเนื้อหุ้มเมล็ดแข็ง ออกดอกเดือน กุมภาพันธุ์- เมษายน
ประโยชน์ : เนื้อไม้แข็ง ใช้ก่อสร้าง ทำปืน เนื้อในเมล็ดกินได้

ลักษณะวิสัย

กลับหน้าหลัก
ลำต้น

7-50100-001-069

ชื่อพื้นเมือง

:  มะมื่น    กระบก

ชื่อวิทยาศาสตร์

Irvingia malayana Oliv. ex  A.W. Benn.

ชื่อวงศ์

:  IRVINGIACEAE

ชื่อสามัญ

:  Kaua, Barking dear’s mango

ประโยชน์

:  เนื้อใช้บำรุงไต ไขข้อ เส้นเอ็นและเบื่อพยาธิในท้อง
น้ำมันที่ได้จากเนื้อในเมล็ดใช้ทำอาหาร
สบู่และเทียนไข

ใบ

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้   มะมื่น , กระบก     รหัสพรรณไม้   7-50100-001-069